เครื่องปั้นดินเผา




ประวัติและความเป็นมาเครื่องปั้นดินเผา บ้านเหมืองกุง
ประวัติ บ้านเหมืองกุง ในอดีตก่อนหน้าที่จะเกิดชุมชนแห่งนี้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบเชื่อมระหว่าง เมืองเชียงใหม่กับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้หลายแห่ง เช่น เวียงดัง เวียงเกาะ เวียงแม เวียงท่ากาน เวียงมโน เวียงกุมกาม ตลอดไปจนถึงแคว้นหริกุญไชยฯ หากประมาณอายุของหมู่บ้านแห่งนี้คาดว่าคงเริ่มก่อตั้งขึ้นไม่เกินสมัยพระ เจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่( พ.ศ.2325-2356 ) ในอดีตชาวบ้านเหมืองกุงทำเครื่องปั้นดินเผาเฉพาะที่เป็นน้ำต้นและน้ำหม้อ เพื่อใช้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในพิธีกรรมนำไปทำบุญและหากมีเหลือก็นำไปแลก เปลี่ยนหรือขายให้กับชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ชาวล้านนาได้ตั้งหม้อน้ำที่ชานเรือนหรือหน้าบ้านเพื่อสัญจรไปมาโดย จะเปลี่ยนหน้าน้ำใหม่ในวันสงกรานต์
นอก จากนี้ยังมีการใช้น้ำต้นในการรับแขกและถวายพระซึ่งประเพณีเช่นนี้จึงทำให้ เกิดการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญของที่นี่ คือ หม้อน้ำ และน้ำต้นปัจจุบันได้มีการผลิตเพื่อขายมากขึ้น กล่าวคือ มิได้ขายเฉพาะในกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น แต่มีการทำเพื่อส่งขายทั่วไปฉะนั้นการทำเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง จึงมีการนำเทคนิควิธีการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตแต่การผลิตในรูปแบบดั้ง เดิมก็ยังคงมีให้เห็นกันทั่วไปในหมู่บ้านแห่งนี้เพราะตลาดส่วนใหญ่ยังมีความ ต้องการ และยังคงมีการสืบทอดวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญของเครื่องปั้นดินเผาหมู่บ้านเหมืองกุง   
          หมู่บ้านเหมืองกุงได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านOTOPต้นแบบ ของจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 ทำให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวตลอดจนมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง


 วิธีการหมักดินเหนียว
 1.นำดินเหนียวไปตากให้แห้ง ประมาณ 1วัน
2.นำดินเหนียวที่แห้งแล้วไปปั่นให้ละเอียด
3.เมื่อปั่นดินเหนียวเสร็จแล้วก็นำไปร่อนเพื่อเอาทรายเม็ดใหญ่ออก ถ้าไม่นำเม็ดทรายออกเวลาปั้นดินเหนียวจะมีรอยผุ
4.นำดินเหนียวไปหมักโดยต้องผสมน้ำเพื่อให้ดินเหนียวมากขึ้น ใช้เวลาในการหมัก 1 วัน
5.เมื่อนำดินเหนียวขึ้นจากอ่างหมักดินแล้วนำดินเหนียวเข้าเครื่องเพื่อทำการอัดดิน
6.นำถุงพลาสติกห่อดินไว้และสามารถนำมาใช้งานได้เลย


สีจากดินแดง
            ดินแดงนำมาจาก อำเภอดอยสะเก็ด ดินแดงจะอยู่ตามข้างทางเราสามารถขุดมาได้
วิธีการผสมสีจากดินแดง
            1.นำมาร่อนเพี่อเอาเศษทรายออก และต้องร่อนจนระเอียด
          2.นำมาผสมน้ำและน้ำมัน ใช้งานได้เลย

อุปกรณ์ ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะใส่อาหากระต่าย
            1.ที่วัดขนาด                          2.สีจากดินแดง
3.ผ้าผืนยาว สั้น                    4.ฟองน้ำ
5.สายเอ็น                              6.ดินเหนียว
7.ไพ่  สำหรับทำให้เครื่องปั้นเรียบ                8.กระเบื้องรองดินเหนียว


วิธีการทำ
1.เตรียมดินสำหรับการปั้น
2.นำกระเบื้องมาวางบนเครื่องปั้นใช้สำหรับรองดินเหนียว
3.ทำการปั้นโดยใช้เครื่องปั้นดินเหนียวใช้เครื่องมือตกแต่งให้เป็นรูปทรง
4.เมื่อปั้นเสร็จแล้วทำการเคลือบสีให้กับเครื่องปั้น
5.นำสายเอ็นมาตัดด้านล่างของเครื่องปั้นเพื่อให้หลุดออกจากกระเบื้อง
6.นำเครื่องปั้นดินเหนียวที่ปั้นเสร็จไปตากให้แห้งเพื่อรอการเข้าเตาเผา

1. ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา
               ในสายตาของคนทั่วไปเครื่องปั้นดินเผาเป็นเพียงแค่ภาชนะต่างๆ ต่างเท่านั้น บ้างก็มองทางเชิงศิลป์ว่าเป็นของตกแต่งที่สวยงามหรือเป็นโบราณวัตถุที่ควรค่าต่อการเก็บรักษาเท่านั้น  แต่จริงๆแล้วใช่ว่าจะมีเพียงความหมายเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินและหินที่ผ่านกรรมวิธีเผาให้คงทนแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมการทำแก้ว โลหะเคลือบ การทำซีเมนต์ ปูนขาวปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งนับว่ามีประโยชน์เช่นกัน

2. ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย
            ยุคหินกลาง  พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ
            สมัยหินใหม่  พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ
            ยุคโลหะ  ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิมที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ
            เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง
            เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี  แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้
            ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ
            ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
            ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต. จันเสน พยุหะคีรี พบวัตถุชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้นเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวเนื้อแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาอื่นที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
            ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น แสดงว่า ต.จันเสน ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ แล้ว
            ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
                        แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายต่างๆ ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง    หงส์ วัวและนักรบ
                        แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
            ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 3  แบบ แต่ดูเหมือนว่าจะเผาในเตาอย่างแท้จริง ไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนแต่ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
            เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย  พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน
            เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี  ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก
               เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน  ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
           เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม
แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มีอยู่หลายแห่ง  เช่น
                ดินขาว                   -  ลำปาง  สุโขทัย  สวรรค์โลก  ชลบุรี
                ดินเหนียว             -  ปทุมธานี  นนทบุรี  ราชบุรี  นครราชสีมา
                ควอรตซ์                -  เชียงใหม่  กำแพงเพชร  ลพบุรี  ปราจีนบุรี  จันทบุรี  ระยอง
                เฟลด์สปาร์            -  เชียงใหม่  ชลบุรี  กาญจนบุรี  ราชบุรี  นครศรีธรรมราช

ประเภทของผลิตภัณฑ์และอุณหภูมิเตาเผา
             ประเภทของผลิตภัณฑ์
              อุณหภูมิเตาเผา  ( C )
1.  เนื้อทึบ พื้นผิวหยาบขรุขระ มีความพรุน
ดูดความชื้น  และน้ำซึมได้
2.  เนื้อหนาเนียนละเอียด ทึบแสง ผิวเป็นมัน
น้ำซึมไม่ได้
3.  เนื้อบางแน่นเนียนละเอียด สีขาว ผิวเป็น
มัน  เห็นโปร่งแสง  น้ำซึมไม่ได้
1,000 1,180

1,250 1,300

1,300  ขึ้นไป
                อิฐทนไฟ  ทำจากดินเหนียวที่มีปริมาณของอะลูมิเนียมออกไซด์สูง  อาจมีส่วนผสมของแร่โครไมท์  แร่ไพโรฟิลไรท์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทนความร้อนได้สูง ( สูงกว่า 1482  C )   มีความแข็งแรง เป็นฉนวนและทนทานต่อการกัดกร่อนใช้ทำเตาเผา   เตาหลอมเหล็ก
สีของเครื่องปั้นดินเผาที่เกิดจากส่วนผสมของโลหะออกไซด์ชนิดต่างๆ
               ออกไซด์ของโลหะ
        สีของเครื่องปั้นดินเผา
โคบอลต์
โครเมียม
เหล็ก
ทองแดง
แมงกานีส
โครเมียมกับดีบุก
พลวงกับตะกั่ว
น้ำเงิน
เขียวอมน้ำเหลือง-น้ำตาล
น้ำตาลค่อนข้างแดง
เขียวสด เขียวใบไม้
น้ำตาล
ชมพู
เหลือง

เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ
           
                         เป็น ภูมิปัญญาที่มีมรดกตกทอดมากกว่า  200 ปี เป็นชุมชนชาวมอญที่ได้อพยพมาจากอำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี    ทรัพยากรดินที่ชุมชนบ้านมอญได้มาตั้งถิ่นฐานมีจำนวนมากที่จะประกอบอาชีพการ ทำเครื่องปั้นดินเผาได้    จึงได้สืบทอดการทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา ได้  จึงได้สืบทอดจนเป็นหมู่บ้านภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผาจนถึง ปัจจุบัน  มีการจัดเป็นศูนย์สาธิตด้านกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้าน ภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา  เพื่อเยาวชนรุ่นหลังและผู้มาเยี่ยมชม


จุดเด่นของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ  คือ  หน้าร้านขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอยู่ติดถนนทางหลวง จึงทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาสามารถมองเห็นและแวะเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และกลุ่มยังให้ความสำคัญในการต้อนรรบผู้ที่มาเยี่ยมชมสินค้าภายในร้านเป็น อย่างดี  คอยแนะนำผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดว่าเหมาะสำหรับงานใดบ้าง  รวมทั้งยังมีการจัดให้มีการออกร้านตามงานต่างๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง
                  วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญ คือดินเหนียว โดยนำมาจากบึงบ้านแก่งซึ้งอญุ่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน แต่เดิมต้องนำเกวียนไปบรรทุกมา  แต่ในปัจจุบันมีรถนำดินมาส่งถึงบ้าน  ทรายได้จากท่าทรายของจังหวัดนครสวรรค์ ดูดขึ้นจากลำน้ำปิงใกล้หมู่บ้าน  ส่วนฟืนนั้นนิยมใช้ไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิง เพราะหาได้ง่าย สะดวก

ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1 . การเตรียมดิน เมื่อขุดดินมาแล้วจะต้องทำการหมักดินก่อนประมาณ 6-7 วัน  การหมักดินทำโดยการพรมนำตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ดินแห้ง เมื่อพรมน้ำแล้วใช้ผ้ายางคลุมเพื่อไม่ให้ความชื่นระเหย
2 . การนวดดิน  พอหมักดินแล้วจะนำดินมานวดโดยนำดินเหนียว 3 ส่วน ต่อทราย 1 ส่วน เข้าเครื่องนวดดินจะนวด 2 ครั้งเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี


3 . การขึ้นรูป ก่อนจะขึ้นรูปนำทรายมาโรยลงบนแป้นให้เป็นวงกลมเพื่อไม่ให้ดินติดกับแป้นไม้  จากนั้นนำดินมาวางบนแป้นไม้แล้วยกแป้นไม้นั้นมาวางบนแป้นหมุน  การขึ้นรูปจะทำโดยการหมุนแป้นไม้ให้เกิดแรงเหวี่ยง  แล้วใช้มือรีดดินเพื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะตามที่ต้องการ  ต่อจากนี้จะตกแต่งลวดลายตามขอบภาชนะตามใจชอบ  เมื่อขึ้นรูปเรีบยร้อยแล้วจะทิ้งไว้ในร่มประมาณ 3 วัน  เพื่อให้ดินแห้งพอหมาด ๆ เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงนำภาชนะเข้าสู่เตาเผา
4 . การเผา  ภาชนะที่ปั้นเสร็จและแห้งแล้ว  จะนำมาใส่เตาเพื่อเผาให้ดินสุก เตาเจะก่อตัวเป็นรูปทรงกลม ข้างบนมีลักษณะโค้งเหมือนโดม  มีช่องสำหรับใส่ไฟ  การเรียงภาชนะในเตาเผาต้องเรียงสลับแบบฟันปลา  เพื่อให้ภาชนะโดนไฟอย่างทั่วถึงและเป็นการประหยัดเนื้อที่  การเผาวันแรกต้องเริ่มจากการใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยๆ เพื่อให้ภาชนะค่อยๆ ปรับตัว  ถ้าใส่ไฟแรงเกินไปภาชนะปรับตัวไม่ทันอาจแตกได้  ใช้เวลาเผา 3 วัน จึงนำภาชนะออกจากเตาเผา